วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทดสอบข้อที่ 2


ฬงวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งปัญหา animation ในประเทศไทย มีดังนี้

“แอนิเมชันไทยตอนนี้เป็นไปได้ทั้งสองอย่าง ทางหนึ่งอาจจะเติบโตขึ้น แต่อีกทางอาจจะล้มไม่เป็นท่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนและโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป”
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าดูชม แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก ต้องใช้แอนิเมเตอร์ จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย
ปัญหาสำคัญของแอนิเมชันไทย คือ ตัวงานยังขาดคนเข้าใจ ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นงานที่เร่งได้ สามารถทำให้เสร็จเร็วได้ ไม่ต้องใช้เม็ดเงินเข้าไปเสริม เป็นงานที่กดราคา เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นสิ่งต่อต้านกันในตัวเองว่าในเมื่อไม่มีเงิน งานที่ออกมาคุณภาพก็ต่ำลง พอคนดูไปเทียบเอฟเฟ็กกับฮอลลีวูดส์ก็รู้สึกสู้เขาไม่ได้ แต่ต้องมองว่าในเวลาที่จำกัด เม็ดเงินที่ถูกจำกัด ตัวเนื้องานที่ถูกสั่งมาอย่างนี้ก็ต้องยอมรับตามเนื้อของตลาด “ทุนมีส่วนเยอะ เพราะว่าตัวหนังที่อเมริกาเรื่องหนึ่งอย่างต่ำก็ 10-20 ล้านเหรียญ แต่ของเมืองไทยทำให้อยู่ใน 10 ล้านบาท ก็ต่างกัน เพราะฉะนั้นเนื้อหาของหนังที่ทำออกมาและขายได้ก็จะเป็นหนังในทำนองดราม่า รักสามเศร้า มากกว่าหนังที่จะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเข้ามาเสริมเรื่องให้ดูดีขึ้น”
ทั้งนี้ การพัฒนาบุคลากรแอนิเมชันไทยเริ่มมาถูกทางในระดับหนึ่ง เพราะในมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มมีการสอนแอนิเมชันอย่างเป็นทางการ มีคณะที่เกี่ยวกับแอนิเมชัน เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้ลงไปในเรื่องโปรดักต์ชันจริงๆ ส่วนใหญ่เป็นสอนการใช้โปรแกรม
นักแอนิเมชันไทยที่โด่งดังไกลถึงระดับโลกคนนี้ ย้ำด้วยว่า แม้วันนี้แอนิเมชันไทยจะยังอยู่บนเส้นทางสองแพร่ง แต่ก็เชื่อว่าแอนิเมชันไทยสามารถจะโกอินเตอร์ได้แน่ เพราะแอนิเมเตอร์ไทยมีความสามารถและมีจุดเด่นซึ่งแอนิเมเตอร์อเมริกาไม่มี

นั่นคือ ความสามารถรอบตัวของแอนิเมเตอร์เมืองไทยมีสูงกว่าสามารถทำงานได้หลากหลายอย่าง เช่น คนหนึ่งคนทำขึ้นโมเดลปั้นหุ่นได้ ขณะเดียวกันก็ทำเทกเจอร์ทำสีพื้นผิวได้ เรียกว่าคนไทยคนเดียวทำได้หมด ขณะที่ฝรั่งแต่ละงานต้องแยกกันเพราะแต่ละคนเก่งด้านใดด้านหนึ่งไปเลย



"ถึงจะเป็นจุดแข็งแต่ก็เป็นปัญหาสำหรับคนไทยเหมือนกัน เนื่องจากเราทำได้ทุกอย่าง ถ้ามองเป็นรูปก็เหมือนเป็นวงกลมรัศมีหนึ่งเมตรได้หมดครอบคลุมทุกอย่าง ฝรั่งจะเหมือนเก่งไปเลยด้านเดียวเหมือนสามเหลี่ยมที่มีรัศมีชี้ไป 2 เมตร ทำให้พอมารวมกันเป็นทีมก็เลยมีศักยภาพมากกว่าคนไทยซึ่งแม้หลายๆ คนทำได้หลายๆ อย่างรวมกันแต่มันไม่ได้สุดโต่งเลยสักที่หนึ่ง"
นอกจากระบบงานและการฝึกอบรมที่ดีแล้ว จำนวนชิ้นงานที่ผลิตออกไปในสายตาต่างชาติที่ยังมีอยู่น้อย รวมถึงการได้แรงสนับสนุนจากภาครัฐ ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้วงการแอนิเมชันไทยเติบโตและสู้กับนานาประเทศได้ โดยเขายกตัวอย่างประเทศอินเดีย พอได้รับแรงหนุนจากทางรัฐบาล ทำให้คนของเขาเริ่มมีศักยภาพการผลิตงานสูงขึ้น

“ไม่ได้หมายความว่าแอนิเมชันเราไม่โต เราอยู่ในระดับเติบโต จะเห็นว่ามีบริษัทใหม่ๆ โปรเจคใหม่ๆ เกิดขึ้นมา รัฐบาล หรือแม่แต่ซิป้าเองก็ให้การสนับสนุน แต่หากเทียบกับประเทศอื่นเขาเห็นความสำคัญมากกว่า สามารถทุ่มเงินเป็นพันสองพันล้านได้ ดึงบริษัทใหญ่ๆ ในต่างประเทศมาตั้งหลักในประเทศ เพื่ออาศัย Production Cost ที่ถูกกว่า เด็กจบมาก็รู้ว่ามีอนาคตมีงานทำ สมมติเราดึงบริษัทใหญ่ๆ เข้ามา จากที่ประเทศไทยมีคนทำงานด้านนี้เป็นร้อยคน ก็กระโดดขึ้นเป็นพันคน ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านนี้มากขึ้น”นักแอนิเมชันไทย ที่ฝีมือระดับผลงานปรากฏในภาพยนตร์ฮอลลีวูดส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น