วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ทดสอบข้อที่ 3
จงยกตัวอย่างภาพยนต์ animation ของไทยมา 1 เรื่อง และอธิบายถึงแนวคิดภาพยนต์ รูปแบบ เทคนิคที่ใช้ รวมทั้งลักษณะการสร้างผลงานมาพอสังเขป
“4 Angies สี่สาวแสนซน” แอนิเมชั่น 3 มิติฝีมือคนไทย
“4 Angies สี่สาวแสนซน” แอนิเมชั่น 3 มิติ ฝีมือคนไทย ซึ่งผลิตโดยบริษัท โฮมรัน เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด พร้อมออนแอร์ตอนแรก พิสูจน์คุณภาพทัดเทียมต่างประเทศ 11 ธันวาคม 2549 นี้ ทางช่อง 3 โดยแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง “4 Angies สี่สาวแสนซน” จะออกอากากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 19.45 น.
“4 Angies สี่สาวแสนซน” เป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ จบในตอน ความยาวตอนละ 15 นาที โดยคาแรคเตอร์ ตัวเอก ได้พัฒนาจากเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ 4 พิธีกรรายการสุดฮิต “ผู้หญิงถึงผู้หญิง” “กาละแมร์-พัชรศรี เบญจมาศ” “ไก่-มีสุข แจ้งมีสุข” “ปุ้ย-พิมลวรรณ ศุภยางค์” และ “นิน่า-กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์” มาทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ ในแนวสดใส สนุกสนาน สำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว
เนื้อเรื่องเน้นความสนุกสนาน แฟนตาซี มีสาระคติเตือนใจ จากความสนุกสนานของเรื่องที่เกิดขึ้น ณ เมืองแองเจิ้ลทาวน์ ที่โรงเรียนประถมแองเจิ้ล 4 สาว กาละแมร์– ไก่จัง– ป้าปุ้ย– นิน่า เพื่อนรักประจำกลุ่ม 4 Angies สี่สาวแสนซน ต้องพบกับเรื่องวุ่นๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งจากการคุมเข้มของ “ครูใหญ่” ประจำโรงเรียน และการก่อกวนจากคู่ปรับแก๊งค์หนุ่มซ่าส์ X4 ที่คิดว่าตัวเองเท่ห์ และมาเฟียสุดๆ แล้ว
เด็กหญิงทั้งสี่ต้องใช้ไหวพริบและพลังพิเศษในตัวมาช่วย คลี่คลายสถานการณ์ จากร้ายกลายเป็นดี ชนิดที่ผู้ชมต้องสนุกสนานกับมุกตลกที่สอดแทรกไว้ตลอดเรื่อง บวกกับความน่ารัก และน่าประทับใจในมิตรภาพของ 4 สาว ที่จะมาเป็นนางฟ้าตัวน้อยแสนน่ารักของทุกคนในครอบ
ตัวอย่างงาน
ทดสอบข้อที่ 2
ฬงวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งปัญหา animation ในประเทศไทย มีดังนี้
“แอนิเมชันไทยตอนนี้เป็นไปได้ทั้งสองอย่าง ทางหนึ่งอาจจะเติบโตขึ้น แต่อีกทางอาจจะล้มไม่เป็นท่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนและโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป”
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าดูชม แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก ต้องใช้แอนิเมเตอร์ จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย
ปัญหาสำคัญของแอนิเมชันไทย คือ ตัวงานยังขาดคนเข้าใจ ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นงานที่เร่งได้ สามารถทำให้เสร็จเร็วได้ ไม่ต้องใช้เม็ดเงินเข้าไปเสริม เป็นงานที่กดราคา เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นสิ่งต่อต้านกันในตัวเองว่าในเมื่อไม่มีเงิน งานที่ออกมาคุณภาพก็ต่ำลง พอคนดูไปเทียบเอฟเฟ็กกับฮอลลีวูดส์ก็รู้สึกสู้เขาไม่ได้ แต่ต้องมองว่าในเวลาที่จำกัด เม็ดเงินที่ถูกจำกัด ตัวเนื้องานที่ถูกสั่งมาอย่างนี้ก็ต้องยอมรับตามเนื้อของตลาด “ทุนมีส่วนเยอะ เพราะว่าตัวหนังที่อเมริกาเรื่องหนึ่งอย่างต่ำก็ 10-20 ล้านเหรียญ แต่ของเมืองไทยทำให้อยู่ใน 10 ล้านบาท ก็ต่างกัน เพราะฉะนั้นเนื้อหาของหนังที่ทำออกมาและขายได้ก็จะเป็นหนังในทำนองดราม่า รักสามเศร้า มากกว่าหนังที่จะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเข้ามาเสริมเรื่องให้ดูดีขึ้น”
ทั้งนี้ การพัฒนาบุคลากรแอนิเมชันไทยเริ่มมาถูกทางในระดับหนึ่ง เพราะในมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มมีการสอนแอนิเมชันอย่างเป็นทางการ มีคณะที่เกี่ยวกับแอนิเมชัน เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้ลงไปในเรื่องโปรดักต์ชันจริงๆ ส่วนใหญ่เป็นสอนการใช้โปรแกรม
นักแอนิเมชันไทยที่โด่งดังไกลถึงระดับโลกคนนี้ ย้ำด้วยว่า แม้วันนี้แอนิเมชันไทยจะยังอยู่บนเส้นทางสองแพร่ง แต่ก็เชื่อว่าแอนิเมชันไทยสามารถจะโกอินเตอร์ได้แน่ เพราะแอนิเมเตอร์ไทยมีความสามารถและมีจุดเด่นซึ่งแอนิเมเตอร์อเมริกาไม่มี
นั่นคือ ความสามารถรอบตัวของแอนิเมเตอร์เมืองไทยมีสูงกว่าสามารถทำงานได้หลากหลายอย่าง เช่น คนหนึ่งคนทำขึ้นโมเดลปั้นหุ่นได้ ขณะเดียวกันก็ทำเทกเจอร์ทำสีพื้นผิวได้ เรียกว่าคนไทยคนเดียวทำได้หมด ขณะที่ฝรั่งแต่ละงานต้องแยกกันเพราะแต่ละคนเก่งด้านใดด้านหนึ่งไปเลย
"ถึงจะเป็นจุดแข็งแต่ก็เป็นปัญหาสำหรับคนไทยเหมือนกัน เนื่องจากเราทำได้ทุกอย่าง ถ้ามองเป็นรูปก็เหมือนเป็นวงกลมรัศมีหนึ่งเมตรได้หมดครอบคลุมทุกอย่าง ฝรั่งจะเหมือนเก่งไปเลยด้านเดียวเหมือนสามเหลี่ยมที่มีรัศมีชี้ไป 2 เมตร ทำให้พอมารวมกันเป็นทีมก็เลยมีศักยภาพมากกว่าคนไทยซึ่งแม้หลายๆ คนทำได้หลายๆ อย่างรวมกันแต่มันไม่ได้สุดโต่งเลยสักที่หนึ่ง"
นอกจากระบบงานและการฝึกอบรมที่ดีแล้ว จำนวนชิ้นงานที่ผลิตออกไปในสายตาต่างชาติที่ยังมีอยู่น้อย รวมถึงการได้แรงสนับสนุนจากภาครัฐ ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้วงการแอนิเมชันไทยเติบโตและสู้กับนานาประเทศได้ โดยเขายกตัวอย่างประเทศอินเดีย พอได้รับแรงหนุนจากทางรัฐบาล ทำให้คนของเขาเริ่มมีศักยภาพการผลิตงานสูงขึ้น
“ไม่ได้หมายความว่าแอนิเมชันเราไม่โต เราอยู่ในระดับเติบโต จะเห็นว่ามีบริษัทใหม่ๆ โปรเจคใหม่ๆ เกิดขึ้นมา รัฐบาล หรือแม่แต่ซิป้าเองก็ให้การสนับสนุน แต่หากเทียบกับประเทศอื่นเขาเห็นความสำคัญมากกว่า สามารถทุ่มเงินเป็นพันสองพันล้านได้ ดึงบริษัทใหญ่ๆ ในต่างประเทศมาตั้งหลักในประเทศ เพื่ออาศัย Production Cost ที่ถูกกว่า เด็กจบมาก็รู้ว่ามีอนาคตมีงานทำ สมมติเราดึงบริษัทใหญ่ๆ เข้ามา จากที่ประเทศไทยมีคนทำงานด้านนี้เป็นร้อยคน ก็กระโดดขึ้นเป็นพันคน ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านนี้มากขึ้น”นักแอนิเมชันไทย ที่ฝีมือระดับผลงานปรากฏในภาพยนตร์ฮอลลีวูดส์
ทดสอบข้อที่ 1
จงอธิบายถึงที่มา ความหมายและประเภทของ Animation พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
แอนิเมชัน (animation นิยมอ่านในภาษาไทยว่า แอ-นิ-เม-ชั่น) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง
แอนิเมชั่นถือกำเนิดขึ้นมาจากหลักการเรื่องภาพติดตา โดยเมื่อเราเห็นภาพนิ่งภาพหนึ่งก็จะเกิดการจดจำและเข้าใจว่าภาพนั้นๆคืออะไรแล้วเมื่อลองนำเอาภาพนิ่งหลายๆภาพมาเล่นติดต่อกันด้วยความเร็วอย่างเช่น 25 ภาพต่อ 1 วินาที เราก็จะรู้สึกได้ว่าเรากำลังเห็นภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชั่นก็ถือกำเนิดมาจากจุดนี้นั่นเอง โดยผู้ที่ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นกันก็คือ พอล โรเจ็ต (Paul Roget) ชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1828 โดยเขาได้ทำสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆเป็นแผ่นวงกลมแบนๆเหมือนกระดาษ ด้านหนึ่งวาดรูปนก อีกด้านวาดรูปกรงนกเปล่าๆ แล้วติดกับแกนไม้หรือเชือก เมื่อหมุนด้วยความเร็วก็จะเกิดเป็นภาพนกอยู่ในกรง และแอนิเมชั่นได้ถือกำเนิดอย่างจริงจังขึ้นเมื่อโธมัส อันวาเอดิสัน (Thomas Alva Edison) ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องฉายได้ หลังจากนั้นการสร้างแอนิเมชั่นก็ได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด โดยแบ่งตามวิธีการสร้างผลงานเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบดั้งเดิม(Traditional Animation) ซึ่งได้แก่ แอนิเมชั่น 2 มิติ ที่วาดด้วยมือ คัท-เอาท์ แอนิเมชั่น(cut-out animation) ที่เป็นการตัดกระดาษให้เป็นรูปร่างต่างๆ และ Clay Animation หรือ Stop Motion ที่สร้างจากดินน้ำมันหรือวัสดุที่ใกล้เคียงกัน และ แอนิเมชั่นอีกประเภทคือ Digital Computer Animation ที่เกิดจาการสร้างด้วยระบบดิจิตอลทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ
Animation นั้น มีด้วยกันหลายประเภท แต่ในที่นี้ ขอกล่าวถึง3ประเภทที่พบเห็นกันทั่วไป ได้แก่
1. Traditional Animation / Hand Drawing Animation / 2D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่นสมัยแรกเริ่ม มักจะใช้การวาดด้วยมือ
งานประเภทนี้ พบเห็นได้ทั่วไป ในการทำ Animation ยุคแรกๆ โดยใช้เทคนิคการวาดด้วยมือ ทีละแผ่น แล้วใช้วิธี Flip เพื่อตรวจดูท่าทางของตัวละครที่เราได้ทำการ animate ไปแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า In Between (IB)
โดยทั่วไปแล้ว ในงาน Animation แบบนี้ ถ้าเป็นงาน Animation จากฝั่งตะวันตก หรือ เป็นหนังโรง จะกำหนดให้ 1 วินาที ใช้รูป 24 เฟรม แต่ถ้าเป็นพวกซีรี่ย์การ์ตูนญี่ปุ่น จะกำหนดไว้ที่ 1 วินาที ใช้รูป 12 เฟรม หรือ อาจมากกว่านั้น
2. Stop-motion หรือ Clay Animation : งานแอนิเมชั่นประเภทนี้ animator จะต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับโมเดล และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรมๆ
การทำ Stop Motion ถือเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะ ต้องแม่นในเรื่องของ Timing และ Pose มากๆ แม้การทำจะไม่ต้องอาศัยการวาดรูปเป็นหลัก แต่ก็ต้องทำ IB เองทั้งหมดด้วยมือ การทำ IB ในงาน Animation ประเภทนี้ ต้องอาศัยความชำนาญในการคำนวนล่วงหน้า เพราะ ถึงแม้จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการ Flip แล้วก็ตาม ( เช่น โปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยในการ Capture รูป แล้ว Play ดูได้ทันที ) แต่การจัดแสง และการควบคุมความต่อเนื่องระหว่างเฟรม ต้องอาศัยความรอบคอบ และความอดทนสูงมาก บางทีทำกันหลายวันหลายคืนไม่ได้พักเลยก็มี ดังนั้น Animator ของงานประเภทนี้ นอกจากจะต้องมีความชำนาญแล้ว ควรจะมีสุขภาพแข็งแรงด้วยก็ดีนะครับ
3. Computer Animation / 2D Animation on computer / 3D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่น ที่มักพบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงโปรแกรมเป็นไปได้ง่าย และการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ทำให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังสะดวกในการแก้ไข และแสดงผล จึงเป็นที่นิยมกันมาก Animator ในงานประเภทนี้ จึงมีเกิดขึ้นมาในยุคปัจจุบันอย่างมากมาย พร้อมด้วยความต้องการ ของวงการบันเทิงในยุคนี้ ที่เน้นการทำ CG Animation มากขึ้น ดูได้จากเมืองไทย ที่มีสถาบันสอนการทำ Animation เกิดขึ้นอย่างมากมาย และ Studio ที่ทำงาน Animation ในบ้านเราก็มีมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า งานต่างๆในวงการบันเทิงไทย ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา การ์ตูนซีรี่ย์ ต่างๆ ล้วนล้วนแต่ มีงาน CG Animatoin แฝงอยู่ด้วยแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า เมืองไทยตอนนี้ มีความตื่นตัวในกระแส Animation เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
แอนิเมชัน (animation นิยมอ่านในภาษาไทยว่า แอ-นิ-เม-ชั่น) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง
แอนิเมชั่นถือกำเนิดขึ้นมาจากหลักการเรื่องภาพติดตา โดยเมื่อเราเห็นภาพนิ่งภาพหนึ่งก็จะเกิดการจดจำและเข้าใจว่าภาพนั้นๆคืออะไรแล้วเมื่อลองนำเอาภาพนิ่งหลายๆภาพมาเล่นติดต่อกันด้วยความเร็วอย่างเช่น 25 ภาพต่อ 1 วินาที เราก็จะรู้สึกได้ว่าเรากำลังเห็นภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชั่นก็ถือกำเนิดมาจากจุดนี้นั่นเอง โดยผู้ที่ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นกันก็คือ พอล โรเจ็ต (Paul Roget) ชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1828 โดยเขาได้ทำสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆเป็นแผ่นวงกลมแบนๆเหมือนกระดาษ ด้านหนึ่งวาดรูปนก อีกด้านวาดรูปกรงนกเปล่าๆ แล้วติดกับแกนไม้หรือเชือก เมื่อหมุนด้วยความเร็วก็จะเกิดเป็นภาพนกอยู่ในกรง และแอนิเมชั่นได้ถือกำเนิดอย่างจริงจังขึ้นเมื่อโธมัส อันวาเอดิสัน (Thomas Alva Edison) ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องฉายได้ หลังจากนั้นการสร้างแอนิเมชั่นก็ได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด โดยแบ่งตามวิธีการสร้างผลงานเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบดั้งเดิม(Traditional Animation) ซึ่งได้แก่ แอนิเมชั่น 2 มิติ ที่วาดด้วยมือ คัท-เอาท์ แอนิเมชั่น(cut-out animation) ที่เป็นการตัดกระดาษให้เป็นรูปร่างต่างๆ และ Clay Animation หรือ Stop Motion ที่สร้างจากดินน้ำมันหรือวัสดุที่ใกล้เคียงกัน และ แอนิเมชั่นอีกประเภทคือ Digital Computer Animation ที่เกิดจาการสร้างด้วยระบบดิจิตอลทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ
Animation นั้น มีด้วยกันหลายประเภท แต่ในที่นี้ ขอกล่าวถึง3ประเภทที่พบเห็นกันทั่วไป ได้แก่
1. Traditional Animation / Hand Drawing Animation / 2D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่นสมัยแรกเริ่ม มักจะใช้การวาดด้วยมือ
งานประเภทนี้ พบเห็นได้ทั่วไป ในการทำ Animation ยุคแรกๆ โดยใช้เทคนิคการวาดด้วยมือ ทีละแผ่น แล้วใช้วิธี Flip เพื่อตรวจดูท่าทางของตัวละครที่เราได้ทำการ animate ไปแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า In Between (IB)
โดยทั่วไปแล้ว ในงาน Animation แบบนี้ ถ้าเป็นงาน Animation จากฝั่งตะวันตก หรือ เป็นหนังโรง จะกำหนดให้ 1 วินาที ใช้รูป 24 เฟรม แต่ถ้าเป็นพวกซีรี่ย์การ์ตูนญี่ปุ่น จะกำหนดไว้ที่ 1 วินาที ใช้รูป 12 เฟรม หรือ อาจมากกว่านั้น
2. Stop-motion หรือ Clay Animation : งานแอนิเมชั่นประเภทนี้ animator จะต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับโมเดล และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรมๆ
การทำ Stop Motion ถือเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะ ต้องแม่นในเรื่องของ Timing และ Pose มากๆ แม้การทำจะไม่ต้องอาศัยการวาดรูปเป็นหลัก แต่ก็ต้องทำ IB เองทั้งหมดด้วยมือ การทำ IB ในงาน Animation ประเภทนี้ ต้องอาศัยความชำนาญในการคำนวนล่วงหน้า เพราะ ถึงแม้จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการ Flip แล้วก็ตาม ( เช่น โปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยในการ Capture รูป แล้ว Play ดูได้ทันที ) แต่การจัดแสง และการควบคุมความต่อเนื่องระหว่างเฟรม ต้องอาศัยความรอบคอบ และความอดทนสูงมาก บางทีทำกันหลายวันหลายคืนไม่ได้พักเลยก็มี ดังนั้น Animator ของงานประเภทนี้ นอกจากจะต้องมีความชำนาญแล้ว ควรจะมีสุขภาพแข็งแรงด้วยก็ดีนะครับ
3. Computer Animation / 2D Animation on computer / 3D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่น ที่มักพบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงโปรแกรมเป็นไปได้ง่าย และการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ทำให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังสะดวกในการแก้ไข และแสดงผล จึงเป็นที่นิยมกันมาก Animator ในงานประเภทนี้ จึงมีเกิดขึ้นมาในยุคปัจจุบันอย่างมากมาย พร้อมด้วยความต้องการ ของวงการบันเทิงในยุคนี้ ที่เน้นการทำ CG Animation มากขึ้น ดูได้จากเมืองไทย ที่มีสถาบันสอนการทำ Animation เกิดขึ้นอย่างมากมาย และ Studio ที่ทำงาน Animation ในบ้านเราก็มีมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า งานต่างๆในวงการบันเทิงไทย ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา การ์ตูนซีรี่ย์ ต่างๆ ล้วนล้วนแต่ มีงาน CG Animatoin แฝงอยู่ด้วยแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า เมืองไทยตอนนี้ มีความตื่นตัวในกระแส Animation เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)